เราชนะ DSE#1 Final Project และอีกมากมาย

Metanon Jongkraijak (Ake)
3 min readFeb 28, 2021

--

บันทึกความทรงจำการที่ได้เป็นนักเรียน Data Science Essential รุ่นที่ 1 และบอกเล่าประสบการณ์ทั้งความสำเร็จและความผิดหวังระหว่างทาง

ภาพส่วนหนึ่งของสมาชิกกลุ่ม G11 DSEs#1 ในวัน Final Pitching

บทความนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโครงการใดๆของรัฐนะครับ ถึงแม้จะจั่วหัวว่าเราชนะก็ตาม ซึ่งเป็นบทความที่ผมดองไว้ตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการ Pitching Final Project ของ Class เรียนที่ชื่อว่า Data Science Essential ซึ่งจัดโดยบอทน้อยนะครับ ตอนนี้ก็เปิดรับรุ่นที่ 3 แล้วใครสนใจลองเข้าไปเช็คข้อมูลในกลุ่ม Botnoi AI & Data science classroom

อย่างที่เกรินไปแล้วว่าบทความนี้ถูกดองไว้นานมาก ความตั้งใจคือ จะเขียนเป็นบันทึกประสบการณ์ที่เกิดขึ้น และเก็บเป็น Portfolio ในสิ่งที่ตัวเองเคยทำ จากความตั้งใจเดิมเป็นแค่การสมัครเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่มันกลับกลายเป็นเวทีให้สร้างสรรค์ผลงาน และส่งมันเข้าประกวด นำมาสู่ที่มาของเนื้อหาในบทความหลังจากนี้ บอกก่อนเลยว่าเป็นการอวยตัวเองล้วนๆสำหรับงานแต่ละสัปดาห์ ซึ่งเป็นความเห็น ความรู้สึกมาจากตัวผม และในบทความนี้อาจจะไม่ได้พูดถึงเนื้อหาที่เรียนมากนักเพราะเดี๋ยวจะเป็นการ Spoil สิ่งที่จะเรียนในคลาสจนเกินไป แต่จะสอดแทรกสิ่งที่เราทำเป็นลิงค์ให้ไปติดตามรายละเอียดกันได้

เชื่อว่าคนที่เข้ามาอ่านจะได้รับอะไรกลับไปไม่มากก็น้อย หรือทักทายกันมาหน้าไมค์หลังไมค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ครับ

เมื่อ AI เข้ามาช่วยจัดกลุ่มให้พวกเรา

พี่วิน และทีมบอทน้อยเลือกใช้ AIในการจัดกลุ่มให้กับนักเรียนทุกคน ทำให้ผมได้อยู่กับกลุ่ม 11 หรือ DSEs_G11

“การใช้ AI ช่วยจัดกลุ่มนักเรียน 400 คน ออกเป็นทั้งหมด 20 กลุ่ม คนที่อยู่กลุ่มเดียวกันจะมีความคล้ายกันในเรื่องของอายุ เพศ ความสามารถ ความสนใจ ขั้นตอนต่อไปคือ จัดกลุ่มอีกครั้งโดยแบ่งคนที่อยู่กลุ่มเดียวกันออกกระจายเพื่อให้แต่ละกลุ่มมีความหลากหลายของคนเรียน ทุกคนเห็นความสวยงามอย่างที่ผมเห็นมั้ยครับ”…พี่วินได้โพสไว้ในกลุ่ม

https://www.facebook.com/groups/2421985951170978/permalink/3149828591720040/

AI จัดการได้ดี หรือผมโชคดีที่ได้อยู่ในกลุ่ม G11

มีเรื่องราวความเร้นลับ ความน่าทึ่งของคนที่อยู่ในกลุ่มมากมายที่เราต่างคน ต่างไม่เคยรู้ บางเรื่องก็พึ่งมารู้เมื่อเราจบ Final Project ไปแล้ว ในกลุ่มผมมีทั้งเจ้าของเพจชื่อดัง แล้วเค้าก็เป็น ดร. ด้วย มีวิศวกรบริษัทใหญ่ซึ่งด้วยตำแหน่ง และบริบทของครอบครัวเค้าไม่น่าจะมาช่วยงานกลุ่มได้ขนาดนี้ มีพี่ที่เก่งในการวิเคราะห์มากๆ และช่วยคอนโทรลงานได้ดี ซึ่งพี่แกจะอยู่เวรกลางคืนในการทำงานให้กับกลุ่ม มีน้องที่เก่งในการเขียน content มากๆ มีคนวิเคราะห์หุ้นที่เก่งกาจ มีคน Support ทุกๆอย่างที่กลุ่มขาด และคอยช่วยเติมเต็ม นั่นแหละครับ AI จัดการได้ดี หรือผมโชคดีที่ได้อยู่ในกลุ่ม

มันไม่ง่ายเลยที่จะทำงานกลุ่ม

ใช่ครับทุกสัปดาห์ที่เราเรียนแต่ละเรื่องก็จะมีงานกลุ่มให้ทำ โดยงานค่อนข้างจะอิสระทางความคิดแต่ต้องสอดคล้องกับหัวข้อที่กำลังเรียน เวลาในการทำก็อยู่ที่ 1–2 สัปดาห์ ถ้าไม่นับ Final Project และจะมีรางวัลประจำสัปดาห์ให้สำหรับกลุ่มผู้ชนะ

แน่นอนว่ามันไม่ง่ายเลยที่จะทำงานกลุ่มด้วยเหตุผลที่ว่าความรู้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน เวลาที่ไม่ตรงกัน การสื่อสารในช่วงต้นทุกอย่างผ่านทางข้อความช่องแชทของไลน์ทั้งหมด และมาปรับกันเพื่อให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้นจาก Zoom ฟรี 40 นาที มาสู่ Google Meets (Hangout) จนกระทั่งเสนอให้ทางบอทน้อยช่วยเตรียม account Zoom ให้ใช้กัน

เชื่อในความตั้งใจและแนวคิดของทุกคน

ในทุกครั้งที่เราได้รับโจทย์มา ผมรับรู้ได้ว่าทุกคนอยากจะทำงานออกมาให้ดี รางวัลจะได้ หรือไม่ได้ก็ขอทำงานก่อน จริงๆแล้วเราอาศัยหลักการทำ Projects ทั่วๆไปนี่แหละครับไม่ถึงขั้นจริงจัง แต่เหมือนทุกคนจะรู้ดีว่าใครควรทำอะไรตรงไหนอย่างไร

เราเริ่มต้นที่การ Brainstrom กันก่อนทุกครั้ง ฟังเสียงทุกคนว่าสนใจที่จะทำอะไร โดยทุก Ideas ควรจะมีข้อมูลมาประกอบ แล้วมานำเสนอให้เพื่อนๆในกลุ่มได้ตัดสินใจกัน ซึ่งก็จะวัดกันที่เสียงส่วนใหญ่ ลึกๆผมเชื่อว่าก็ต้องมีคนไม่พอใจในสิ่งที่คนส่วนใหญ่เลือกอยู่แล้ว แต่ถ้าเราจะอยู่กับคนหมู่มากเราก็ต้องเคารพการตัดสินใจกัน เพราะเราเปิดโอกาสให้กับทุกคน

แน่นอนว่าเมื่อตัดสินใจกันได้ก็แบ่งงานกันไปทำ แล้วคอยอัพเดทเป็นระยะผ่านทางไลน์ ซึ่งมีนัดประชุมเพื่อติดตามงานเป็นช่วงๆ เพื่อเป็นการเช็คความคืบหน้าของงาน และเตรียมจัดทำบทสรุป ซึ่งเราก็มักจะตื่นเต้นกับมันอยู่เสมอ เพราะการรวมงานมักเกิดขึ้นในช่วงท้ายใกล้ๆวันสิ้นสุดของการส่งงาน

ความสำเร็จแรกที่สวยงาม

ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่เราก็ปรับจูนกันจนทุกอย่างมันประสบความสำเร็จจากการได้รับชัยชนะใน Project ของสัปดาห์แรก ซึ่งเครดิตยกให้กับทุกคน ลองเข้าไปอ่านกันดูได้ครับ

https://www.facebook.com/groups/2421985951170978/permalink/3191666190869613/

ซึ่งความสำเร็จนี้นำไปสู่สิ่งที่เราเองก็ไม่ได้ตั้งตัวนั้นคือ การต้อง Live สดผ่าน Facebook เพื่อบอกเล่าถึงวิธีการทำงานของพวกเรา และมันเกิดขึ้นโดยไม่มีแบบแผนซึ่งถือได้ว่าเป็น First EP ของ Data Sci to be

https://www.facebook.com/100000477618933/videos/4892223834136822/

ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะชนะถึงแม้เราจะตั้งใจมากแค่ไหน

ผมใช้เวลาเรียบเรียงที่จะขยายความในจุดนี้อยู่นานมาก ขอเล่าแบบสั้นๆกระชับ ผมอยากจะสะท้อนว่างานทุกงานมันมีเรื่องราวดีๆอยู่แล้วถ้าเราตั้งใจที่จะทำ และงานชิ้นที่สองนี้ก็เช่นกัน ทุกคนในกลุ่มลงแรงกันเยอะมากตั้งใจมาก แต่ถ้าเราไม่สามารถนำเสนอจุดขายของสินค้าให้ตรงใจคนซื้อได้ ความต้องการในตัวของสินค้าก็จะลดลงแต่ไม่ได้บอกว่าขายไม่ได้ ซึ่งก็เป็นบทเรียนที่ดีให้เราได้ปรับปรุงในผลงานชิ้นที่สาม

เล่นจริง เจ็บจริง ทุนพี่วินแห่งบอทน้อย

ใครจะคิดว่าพี่วินจะประกาศกร้าวลงทุนให้กับนักเรียน DSE เป็นจำนวนเงินกว่า 200k เพื่อซื้อหุ้นที่เกิดจากการทำ Project ชิ้นที่สามในหัวข้อ forecasting และด้านล่างนี้คือ ภาพที่มีการซื้อหุ้นจริงๆที่ทุกกลุ่มส่งรายชื่อไปให้ โดยตัวพี่วินเองถึงกับออกตัวเลยว่าไม่เคยหลับหูหลับตา และเชื่อมั่นใครขนาดนี้ เพราะหุ้นบางตัวแกก็ไม่รู้ว่าเค้าประกอบกิจการอะไรด้วยซ้ำ ก็ใจสั่นกันไป 1 อาทิตย์เต็มๆ ส่วนใครอยากรู้ที่มาที่ไปของแต่ละกลุ่มเค้าคิดอะไรกันอยู่ไปดู live ย้อนหลังได้ที่นี่ (คลิก)ครับ มันเลยเป็นสิ่งที่คนในกลุ่มรู้สึกว่าเรายิ่งต้องลงแรงมากขึ้นไปอีกเพราะเรากำลังจะใช้เงินจริง และมันทำให้เรากลับมาทวงบัลลังค์แชมป์ประจำสัปดาห์

https://www.facebook.com/groups/2421985951170978/permalink/3269513466418218/

ทวงบัลลังค์แชมป์ประจำสัปดาห์และสิ่งที่ผมอยากเล่า

งานชิ้นที่สามผมมองว่าเป็นอะไรที่ทุกคนทุกกลุ่มมีโอกาสเท่าๆกันหมด เพราะจุดมุ่งหมายคือ การทำนายว่าหุ้นตัวใดจะทำกำไรให้เราหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ รอบนี้ในกลุ่มพยายามเก็บรายละเอียดทุกอย่างให้รัดกุมมากขึ้น มองภาพของงานเป็นส่วนๆทำให้แบ่งการทำงานออกมาได้ชัดเจน ยาวจนไปถึงบทสรุปของเนื้อหา ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่างานชิ้นที่สามนี้เป็นงานที่สะท้อนความเป็นพวกเรามากๆ ทุกอย่างแลดูลงตัวไปหมด แต่ก็อย่างที่เกรินแหละครับจนกว่าจะวินาทีสุดท้ายของการส่งงาน กลุ่มเราเองก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นตลอด เราสรุปเนื้อหาของการทำงานลง medium กันจนวินาทีสุดท้ายจริงๆ ในระหว่างการช่วยกันสรุปยังมีข้อถกเถียงเนื่องจากความไม่เข้าใจ เรายังมีส่วนเนื้อหาที่ขาดหายไป แม้กระทั้งผลจาการรันเพื่อ forecast ซึ่งคืนนั้น เราพยายามจะรัน เพื่อประมวลผลกันจนกระทั้งตี 3 ภายใต้ตี 3 นั้นมีความง่วง และความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้ใช้ข้อมูลที่เราจัดเตรียมไว้มาประมวลผลได้ครบถ้วน ทำให้เราก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันคืนนั้น และเราก็แยกย้ายกันไปนอน เราก็ทำมันได้สำเร็จอีกครั้งกับการได้กลับมาเป็นแชป์ประจำสัปดาห์ที่ 4 (ชิ้นงานที่สองเป็นสัปดาห์ที่ 2 -3)

https://www.facebook.com/groups/2421985951170978/permalink/3293859093983655/
https://www.facebook.com/100000477618933/videos/5047833328575871/

Final Project ที่มาพร้อมกับการ Pitching 7 นาทีเท่านั้น

จากผลงานที่ทุกกลุ่มทำได้ดีมาตลอดในทุกสัปดาห์ พี่วินมองเห็นศักยภาพของทุกกลุ่มจึงเป็นโอกาสให้แต่ละกลุ่มได้ Join Class เรียนเพื่อพัฒนาแชทบอท ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในโจทย์สุดท้ายของการเรียน ทุกกลุ่มได้รับโจทย์ให้พัฒนาแชทบอทร่วมกับการใช้องค์ความรู้ด้าน Data Sci ทั้งหมดที่เรียนมา โดยในครั้งนี้จะไม่มีการสรุปงานทั้งหมดลงใน Medium เหมือนทุกๆครั้ง แต่ทุกกลุ่มจะต้องมา Pitching แข่งกัน ภายในระยะเวลา 7 นาที ความทรงจำที่จำได้ในตอนนั้นก็คือ ผมได้รับมอบหมายมาให้เป็น 1 ในตัวแทนของกลุ่ม ผมได้เวลามา 5 นาทีเพื่อสรุปเรื่องราวที่ใช้ในการทำ Project สุดท้าย ผมซ้อมกับตัวเองในห้องน้ำบ้าง หน้ากระจกบ้าง ในห้องนอนบ้าง ทำยังไงให้เราสามารถดึง Critical Point ของงานให้กระแทกใจกรรมการ ซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นในคืนก่อนการแข่งขันอีกแล้ว เอาจริงๆมานั่งย้อนดูคลิปวันที่ Pitching ก็รู้ได้เลยว่าผมประหม่าพอสมควร และรู้ตัวตั้งแต่ก่อนเริ่มงานแล้วว่ามันยังมีรายละเอียดที่เราสามารถทำให้ดีกว่านี้ได้แต่ด้วยระยะเวลาที่จำกัด การเตรียมตัวของเราเอง ต้องยกเครดิตให้กับทุกคนในกลุ่มจริงๆที่ช่วยกันจนถึงงานสุดท้าย

ไม่มี G11 - Crews ก็ไม่เดินทางมาถึงจุดนี้

แน่นอนว่าเรื่องราวที่เล่ามาทั้งหมดก็คงต้องยกความดีความชอบ และเครดิตให้กับสมาชิกในกลุ่มทุกคน ที่คอยช่วยกันมาในระยะเวลา 2 เดือนเต็มๆ ไม่มีพวกเขาเหล่านี้ก็มีมี G11 ที่ประสบความสำเร็จได้ถึงขนาดนี้ ผมจึงขออนุญาตเล่าถึงสมาชิกแต่ละคนจากความรู้สึกส่วนตัวนะครับ และไปติดตามผลงานของพวกเขาต่อได้จากลิงค์ที่ครอบชื่อไว้นะครับ

พี่เมธ — เจ้าของเพจ Data Science Thailand คนที่ทั้งกลุ่มไม่เคยรู้เลยว่าพี่เค้าเป็นใครมาจากไหนจนกระทั้งเราเรียนจบกันไปแล้ว พึ่งมารู้ว่าโดยสถานะพี่เค้าเป็นถึง ดร. ซึ่งพี่เมธถ่อมตัวมากเวลาทำงานกับน้องๆ พวกเราก็ไม่รู้จริงๆว่าพี่เมธเป็นใครมาจากไหน เปิดให้น้องรังสรรค์ผลงานกันเต็มที่

พี่คอง — วิศวกรบริษัทใหญ่ที่ไม่น่าจะเชื่อว่าลูกพี่เค้ายังเล็ก แต่มีเวลาให้เราตลอดเลยอยู่กันจนดึก เราเองก็กลัวจะไปทำให้ที่บ้านเค้ามีปัญหาเหมือนกัน พี่คองเป็นพี่ที่คอยสอนคอยเติมเต็มองค์ความรู้ต่างๆให้กับน้องๆในกลุ่ม พี่เค้าจะย่อยทุกอย่างให้เราเข้าใจง่ายๆ และมีอะไรแปลกใหม่มาเราให้น้องๆฟังเสมอ

พี่เมย์ — สมาชิกทีมงานกะดึกของกลุ่มพวกเรา พี่เมย์คือ คนที่มีความสามารถรอบด้าน คอยไกด์ คอยบอก คอยเสริม และเป็นอีกคนนึงเลยที่จะนำองค์ความรู้มาเล่ามาแชร์ให้พวกเราเข้าใจเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้น และเป็นคนที่สร้างปรากฎการณ์ว่ากลุ่มนี้มันทำงานกัน 24 ชม.เลยหร๋อ

พี่หมู — Supporter สุดเจ๋งประจำกลุ่มพี่หมูเป็นพี่ที่ขอให้ช่วยทำอะไรได้หมดเลย ไม่ว่าจะงานเล็กงานใหญ่ ซึ่งผมมองว่าเป็นผู้เติมเต็มในทุกๆช่องว่างของทีม

น้องไม้ — Content Creator มากความสามารถ ที่จุดประกายเชื่อว่าให้กับใครหลายๆคนเลยแหละในการสรุปงานหรือแชร์สิ่งต่างๆลง Medium ไปตามงานน้องกันได้นะ

น้องพลอย — สาวน้อยที่คอย Support งาน Programming ด้วยความถนัดของน้องเอง ซึ่งคอยแสดงความคิดเห็น คอยเปิดประเด็นซักถามพี่ๆ ซึ่งก็ช่วยให้เกิดไอเดีย หรือแนวความคิดให้แลกเปลี่ยนกันอยู่เรื่อย

พีท — นักวิ่งผู้หลงไหลในงาน Data Sci มีความรู้องค์ความรู้รอบหลายอย่างแน่นมากๆ ถึงแม้เค้าะจะบอกกับคนในกลุ่มว่าเค้าแค่พึ่งเริ่ม พีทเป็นอีกคนที่อยู่เบื้องหลังของการตัดสินใจหลายๆอย่างของกลุ่ม

โอ — เทพเงียบที่พูดน้อยแต่ต่อยหนัก ผู้อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจสุดท้ายในการเลือกหุ้น เป็นอีกคนที่ช่วยเรื่อง Programing ในกลุ่มคอยช่วยปั้นและทดลอง Model ต่างๆ

เล็กน้อยก่อนจะจบ

  • เข้าใจว่าเมื่ออ่านจนถึงตรงหลายๆคนคงยังงงอยู่ว่าผมจะสื่อสารอะไร มันก็ไม่ผิดครับเพราะมันคือ เรื่องราว ความรู้สึก ความทรงจำที่ผมอยากจะบันทึกไว้ ขออภัยไว้ด้วยนะครับ
  • จริงๆแล้วอยากลงรายละเอียดในแต่ละส่วนมากกว่านี้ แต่กลัวมันจะยาวไป ปั่นจากการที่ดองไว้ได้ก็ใช้เวลาพอสมควรแล้วคิดว่าต้องปิดจบแบบนี้แหละ
  • ไว้ถ้ามีโอกาสจะสร้างเป็น Side Story ให้ได้อ่านกัน โดยเฉพาะถ้ามีคนชอบบทความนี้
  • ยังมีอีกหลายๆโอกาสให้ผมได้กลับไปร่วมงานกับบอทน้อย ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นให้ผมเขียนบทความนี้ให้เสร็จสักที

End Credit

--

--